วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อื่นๆ

       


โลกของเรามีกี่ประเทศ 

โลกของเรามีกี่ประเทศ

โดยหลักเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์ ในการกำหนดความเป็นประเทศต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ดังนี้ ดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ต้องได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเสียก่อน จึงจะมีสถานะเป็นประเทศที่แท้จริงได้ 



ในปัจจุบันโลกของเรานี้มี 193 ประเทศ แยกตามทวีป ดังนี้

ทวีปเอเชีย มี 48 ประเทศ 1.อัฟกานิสถาน 2.อาร์เมเนีย 3.อาเซอร์ไบจาน 4.บาห์เรน 5.บังกลาเทศ 6.ภูฏาน 7.บรูไนดารุสซาลาม 8.กัมพูชา 9.จีน 10.ไซปรัส 11.จอร์เจีย 12.อินเดีย 13.อินโดนีเซีย 14.อิหร่าน 15.อิรัก 16.อิสราเอล 17.ญี่ปุ่น 18.จอร์แดน 19.คาซัคสถาน 20.เกาหลีเหนือ 21.เกาหลีใต้ 22.คูเวต 23.ตีร์กีซสถาน 24.ลาว 25.เลบานอน 26.มาเลเซีย 27.มัลดีฟส์ 28.มองโกเลีย 29.พม่า 30.เนปาล 31.โอมาน
32.ปากีสถาน 33.ฟิลิปปินส์ 34.กาตาร์ 35.ซาอุดีอาระเบีย 36.สิงคโปร์ 37.ศรีลังกา 38.ซีเรีย 39.ทาจิกิสถาน 40.ไทย 41.ตุรกี 42.เติร์กเมนิสถาน 43.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 44.อุซเบกิสถาน 45.เวียดนาม 46.เยเมน 47.ติมอร์เลสเต และ 48.ไต้หวัน (แต่สหประชาชาติไม่รับรองเป็นประเทศ)


ทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มี 14 ประเทศ
 1.ออสเตรเลีย 2.ฟิจิ 3.คิริบาตี 4.หมู่เกาะมาร์แชลล์ 5.ไมโครนีเซีย 6.นาอูรู 7.นิวซีแลนด์ 8.ปาเลา 9.ปาปัวนิวกีนี 10.ซามัว 11.หมู่เกาะโซโลมอน 12.ตองกา 13. ตูวาลู 14.วานูอาตู

ทวีปยุโรป มี 43 ประเทศ 1.แอลเบเนีย 2.อันดอร์รา 3.ออสเตรีย 4.เบลารุส 5.เบลเยียม 6.บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 7.บัลแกเรีย 8.โครเอเชีย 9.เช็ก 10.เดนมาร์ก 11.เอสโตเนีย 12.ฟินแลนด์ 13.ฝรั่งเศส 14.เยอรมนี 15.กรีซ 16.ฮังการี 17.ไอซ์แลนด์ 18.ไอร์แลนด์ 19.อิตาลี 20.ลัตเวีย 21.ลิกเตนสไตน์ 22.ลิทัวเนีย 23.ลักเซมเบิร์ก 24.มาซิโดเนีย 25.มอลตา 26.มอลโดวา 27.โมนาโก 28.เนเธอร์แลนด์ 29.นอร์เวย์ 30.โปแลนด์ 31.โปรตุเกส 32.โรมาเนีย 33.รัสเซีย 34.ซานมารีโน 35.สโลวะเกีย 36.สโลวีเนีย 37.สเปน 38.สวีเดน 39.สวิตเซอร์แลนด์ 40.ยูเครน 41.สหราชอาณาจักร 42.นครรัฐวาติกัน 43.เซอร์เบียและมอนเตเนโกร

ทวีปอเมริกาเหนือ มี 22 ประเทศ 1.กัวเตมาลา 2.เกรเนดา 3.คอสตาริกา 4.คิวบา 5.แคนาดา 6.จาเมกา 7.เซนต์คิตส์และเนวิส (เซนต์คริสโตเฟอร์เนวิส) 8.เซนต์ลูเซีย 9.เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 10.โดมินิกา 11.บาร์เบโดส 12.นิการากัว 13.บาฮามาส 14.เบลีซ 15.ปานามา 16.เม็กซิโก 17.สหรัฐอเมริกา 18.โดมินิกัน 19.เอลซัลวาดอร์ 20.แอนติกาและบาร์บูดา 21.ฮอนดูรัส 22.เฮติ

ทวีปอเมริกาใต้ มี 13 ประเทศ 1.กายอานา 2.โคลอมเบีย 3.ชิลี 4.ซูรินาเม 5.ตรินิแดดและโตเบโก 6.บราซิล 7.โบลิเวีย 8.ปารากวัย 9.เปรู 10.เวเนซุเอลา 11.อาร์เจนตินา 12.อุรุกวัย 13.เอกวาดอร์
ทวีปแอฟริกา มี 53 ประเทศ 1.กานา 2.กาบอง 3.กินิบิสเซา 4.กินี 5.แกมเบีย 6.โกตดิวัวร์ 7.คองโก 8.คอโมโรส 9.เคนยา 10.เคปเวิร์ด 11.แคเมอรูน 12.จิบูตี 13.ชาด 14.ซิมบับเว 15.ซูดาน 16.เซเชลส์ 17.เซเนกัล 18.เซาโตเมและปรินซิเป 19.เซียร์ราลีโอน 20.แซมเบีย 21.โซมาเลีย 22.ตูนิเซีย 23.โตโก 24.แทนซาเนีย 25.นามิเบีย 26.ไนจีเรีย 27.ไนเจอร์ 28.บอตสวานา 29.บุรุนดี 30.บูร์กินาฟาโซ 31.เบนิน 32.มอริเซียส 33.มอริเตเนีย

34.มาดากัสการ์ 35.มาลาวี 36.มาลี 37.โมซัมบิก 38.โมร็อกโก 39.ยูกันดา 40.รวันดา 41.ลิเบีย 42.เลโซโท 43.ไลบีเรีย 44.สวาซิแลนด์ 45.คองโก 46.แอฟริกากลาง 47.อิเควทอเรียลกินี 48.อียิปต์ 49.เอธิโอเปีย 50.เอริเทรีย 51.แองโกลา 52.แอฟริกาใต้ 53.แอลจีเรีย    


ทุกทวีปในโลกเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน
นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น


รูป แผ่นเปลือกโลก   แสดงรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก (แผ่นยูเรเซีย แผ่นอเมริกา แผ่นแปซิฟิก 4 แผ่นออสเตรเลีย  5 แผ่นแอนตาร์กติกา  6 แผ่นแอฟริกา)
จากรูป แผ่นเปลือกโลก จะเห็นว่าเปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ แผ่น ดังนี้

1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น
          ซึ่งมีทฤษฎีและหลักฐานต่างๆ มากมาย  เพื่อพิสูจน์ว่าโลกเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน แล้วแยกออกจากกันจนเป็นรูปร่างที่เห็นในปัจจุบัน ได้แก่

ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย อัลเฟรด เวเจเนอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่งมีใจความว่า เมื่อ 180 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งโผล่พ้นผิวน้ำที่ติดกันเป็นทวีปเดียว เรียกทวีปใหญ่นี้ว่า แพงกีอา (pangaea)ซึ่งแปลว่า all land หรือ แผ่นดินทั้งหมด เมื่อเลาผ่านไป แพงกีอาเริ่มแยกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนขยับเขยื้อนเคลื่อนที่แยกจากกันไปเป็นทวีปต่างๆ ดังปรากฏในปัจจุบัน


รูปทวีปเดียวตามแนวคิดของ อัลเฟรด เวเจเนอร์
หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเจเนอร์

1. หลักฐานสภาพรูปร่างของทวีป
รูปร่างของทวีปต่างๆ สามกันได้อย่างพอเหมาะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทวีปแอฟริกากับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
รูปทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา


2. หลักฐานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
 มีการอ้างหลักฐานการพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และชั้นของหินชนิดเดียวกันในสองทวี  แถบที่อยู่ด้านเดียวกันหรือใกล้เคียง    เวเกเนอร์ได้เสนอแนะให้ลองพิจารณารูปร่างของทวีปต่างๆ บนแผนที่โลก เวเกเนอร์ยังได้ศึกษาซากฟอสซิลของพืชและสัตว์ที่มีอยู่ตามแนวชายฝั่ง (Coastline) ทั้งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา ซึ่งพบว่าบริเวณที่แนว ชายฝั่งทวีปทั้งสองต่อตรงกันนั้น ซากฟอสซิลที่พบก็เหมือนกันทุกอย่างด้วยซึ่ง หมายความว่าพืชและสัตว์ที่กลายเป็นฟอสซิลนั้นเป็นชนิดเดียวกัน หากทวีปทั้งสอง อยู่แยกกันมาอย่างในปัจจุบัน โดยมีมหาสมุทรคั่นระหว่างทวีปเช่นนี้ แล้วพวก พืชและสัตว์ในอดีตเหล่านี้จะเดินทางจากทวีปหนึ่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่อีกทวีปหนึ่งได้อย่างไร ข้อสังเกตนี้สนับสนุนสมมติฐานของเวเกเนอร์ที่ว่า ทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาเดิมเป็นผืนดินเดียวกัน





ทำไมเปลือกโลกจึงมีการเปลี่ยนแปลง
        

         ประมาณ พ.ศ. 
2163 อัลเฟรด เวเนเจอร์ ได้สันนิษฐานว่าผิวโลกเดิมมีส่วนเดียว เป็นทวีปใหม่ทวีปเดียวให้ชื่อว่าแพงอีกา แปลว่าแผ่นดินทั้งหมด
      จากข้อมูลปัจจุบันจะเห็นว่าทวีปต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลกจะมีทะเลและมหาสมุทรคั่น และพบว่า ทวีปเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เพราะหินหนืด
      นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกไม่ได้ติดกันเป็นแผ่นแต่มีรอยลึกแยกลงไปจากผิวโลกอยู่ทั่วไป เรียกแต่ละแผ่นของเปลือกโลกว่า แผ่นเปลือกโลก ซึ่งประกอบด้วยแผ่นใหญ่ๆ จำนวน แผ่น
ได้แก่

1.
 แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป รวมทั้งพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศทั้งสอง
5. แผ่นแอนตาร์กติก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบๆ ทวีปนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ รองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น


สาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ธรรมชาติและมนุษย์    ธรรมชาติเป็นสาเหตุทำให้เปลือกโลก ได้แก่ 

  1) การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 
  2) การเกิดแผ่นดินไหว 
  3) การระเบิดของภูเขาไฟ 
  4) กระบวนการเกิดภูเขา  
  5) การกร่อน 
  6) กระแสน้ำ  
  7ปฏิกิริยาเคมีในธรรมชาติ 
  8) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เป็นต้น


การเคลื่อนที่ของโลก เกิดจากการเคลื่อนที่ของหินหนืดโดยเฉพาะแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร มีความหนาแน่นน้อย หินหนืดสามารถแทรกตัวตามรอยต่อระหว่าง แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่าย
นักธรณีวิทยาพบว่าบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแอตแลนติกมีแนวหินใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แนวหินใหม่นี้เกิดจากการดันตัวของหินหนืดและมีอายุน้อยกว่าหินบนทวีป จึงมีผลทำให้ทวีปต่าง ๆ ห่างกันมากขึ้นและเกิดการชนกันระหว่างผิวเปลือกโลก
 การเกิดแผ่นดินไหว คือ คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากพลังงานที่มีจุดกำเนิดอยู่ภายใต้ผิวโลก คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกเรียกว่าแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่กระจายไปทุกทิศทุกทางจากจุดต้นกำเนิด ความกว้างของอาณาบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระดับพลังงานที่จุดต้นกำเนิด



     มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
พื้นผิวโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำมาหากินของมนุษย์มาตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ แล้วมนุษย์อาศัยปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์ได้มาจาก การเสาะแสวงหา ดัดแปลง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในบางครั้งจึงต้องเกี่ยวข้องกับการทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้
มนุษย์ต้องการดิน หินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้างและสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงต้องค้นหาและขุดดิน หินและแร่ธาตุดังกล่าว ซึ่งมีอยู่ในเปลือกโลกขึ้นมาใช้ประโยชน์ บางครั้ง การสร้างอาคาร ถนน เขื่อน และอุโมงค์ จำเป็นต้องปรับพื้นที่ อาจต้องมีการขุดเจาะลงในชั้นดิน หิน เพื่อวางระบบฐานรากของสิ่งก่อสร้าง ตลอดจนการระเบิดภูเขา เพื่อเอาหินมาสร้างถนน สร้างอุโมงค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง