ลักษณะภูมิประเทศ
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่ไม่ค่อยมีคาบสมุทร อ่าวและทะเล เนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของทวีปเป็นที่ราบสูง ส่วนลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบมีอยู่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ดินแดนบริเวณชายขอบของทวีปเท่านั้น ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 4 เขต
- เขตที่ราบสูงและเทือกเขาทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เขตที่ราบสูงและเทือกเขานี้อยู่ในเขตประเทศโมร็อกโก แอลจีเรียและตูนิเซีย คือ เทือกเขาแอตลาส มียอดเขาสูงสุด ชื่อว่า ยอดเขาทูบคาล (4,167 เมตร) อยู่ในเขตประเทศโมร็อกโก ในเขตเทือกเขาแอตลาสประกอบด้วยเทือกเขาต่างๆ คือ
- เทือกเขาแกรนด์แอตลาสในประเทศโมร็อกโกเป็นแกน
- เทือกเขาแอนดิแอตลาสเป็นแนวขนานทางตอนใต้
- เทือกเขาเทลล์แอตลาสเป็นแนวขนานด้านนอกบริเวณชายฝั่งในเขตประเทศโมร็อกโก แอลจีเรียและตูนิเซีย
- เทือกเขาสะฮาราแอตลาสอยู่ทางใต้สุด - เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ แอฟริกามีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 4 เขต คือ
1) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีบริเวณแคบๆ ส่วนอยู่ในเขตประเทศซูดานและอียิปต์ แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำในเขตที่ราบสูง มีความยาวที่สุดในแอฟริกา และยาวที่สุดในโลก คือ 6,695 กิโลเมตร เกิดจากที่สูงและภูเขาทางตะวันออกของทวีป ไหลผ่านที่ราบสูงและทะเลทรายสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือ
2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในเขตประเทศมาลี ไนเจอร์ และไนจีเรีย แม่น้ำไนเจอร์เกิดจากภูเขาและที่สูงทางตะวันตกเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบลุ่มอันกว้างขวาง บางตอนมีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีน้ำแช่ขังเป็นที่ชื้นแฉะ ใช้เพาะปลูกไม่ได้ มีความยาวเป็นลำดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา
3) ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก อยู่ทางตอนกลางทวีปในเขตประเทศคองโก และซาอีร์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำกว้างขวางมากรองจากที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำคองโกมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาด้านตะวันออกและที่ราบสูงภาคเหนือ มีความยาวเป็นลำดับที่ 2 ของทวีปแอฟริกา และยาวเป็นลำดับที่ 7 ของโลก ไหลผ่านทะเลสาบ ที่ลุ่ม ที่ราบสูงหลายแห่ง จึงมีเกาะแก่งและน้ำตกมากมาย
4) ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมเบซี อยู่ในเขตประเทศแองโกลาและแซมเบีย บอตาสวานา ซิมบับเว เป็นแม่น้ำทางภาคใต้มีความยาวเป็นลำดับที่ 4 ของทวีป ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่ประเทศโมซัมบิก เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบสูงและไหลเชี่ยวมาก ที่ราบลุ่มแม่น้ำนี้จึงมีเป็นบริเวณแคบๆ แม่น้ำในทวีปแอฟริกา มักมีแก่งน้ำตก (Cataract) และน้ำตกขนาดใหญ่ กั้นขวางลำน้ำอยู่เป็นตอนๆ เนื่องจากไหลผ่านบริเวณที่ราบสูง ทำให้เกิดการกัดเซาะได้รวดเร็ว เช่นแเม่น้ำไนล์ มีแก่งน้ำตกกั้นขวางลำน้ำทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ กับทางตอนเหนือของซูดาน รวม 6 แห่ง และแม่น้ำคองโกมีแก่งน้ำตกกั้นขวางลำน้ำ 7 แห่ง น้ำตกขนาด ใหญ่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ น้ำตกโบโยมา (น้ำตกสแตนลีย์) ในแม่น้ำคองโก และน้ำตกวิกตอเรียในแม่น้ำแซมเบซี - เขตที่ราบสูงและภูเขาสูง เป็นเขตที่สูงมีอยู่ 2 บริเวณ คือ
1) เขตที่ราบสูงและภูเขาทางภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีความสูงมาก ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบสูงเอธิโอเปีย และที่ราบสูงแอฟริกาตะวันออก นอกจากนี้ยังอุดมด้วยภูเขาไฟทั้งที่ยังคุกรุ่นอยู่และดับแล้ว ในเขตนี้มีภูเขาที่มียอดสูงเกินกว่า 3,000 เมตรหลายยอด เช่น ยอดเขาคิลิมานจาโร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแอฟริกา อยู่ในเขตประเทศแทนซาเนีย (5,870 เมตร) เขตที่สูงทางภาคตะวันออกนี้มีทะเลสาบกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ทะเลสาบวิกตอเรีย (เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ขอโลก รองจากทะเลสาบสุพีเรีย ทะเลสาบแทนแกนยิกา เป็นทะเลสาบที่มีน้ำลึกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก (1,470 ม.) รองจากทะเลสาบไบคาล (1,617 ม.) ทะเลสาบมาลาวีหรือทะเลสาบนยาซา ฯลฯ
2) เขตภูเขาและที่ราบสูงภาคใต้ ประกอบด้วยที่ราบสูงกว้างเกือบ 1,300 กิโลเมตร จากทางตะวันตกถึงตะวันออก เป็นที่ราบสูงหินแกรนิตอยู่ระหว่างแม่น้ำวาลและแม่น้ำลิมโปโป เรียกว่า เดอะแรนด์ (The Rand) หรือ วิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand) เป็นแหล่งผลิตแร่ทองคำที่สำคัญของโลก ส่วนบริเวณที่สูงที่สุดอยู่ทางตะวันออก เป็นเทือกเขาดราเกนสเบิร์ก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ทางตอนในของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งรูปจานและทางตะวันตกเป็นเขตแห้งแล้งเป็นทะเลทราย ได้แก่ ทะเลทรายคาลาฮารีและทะเลทรายนามิบ - เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก เป็นที่ราบกว้างใหญ่มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลทรายสะฮาราถึงอ่าวกินี เขตนี้เป็นที่ราบสูงหินเก่า โดยมีพื้นที่ผิวปกคลุมด้วยหิน กรวด ปูน ทราย และดินตะกอน ภูเขาที่สำคัญในเขตนี้ได้แก่ ภูเขาอะฮักการ์ทางตอนใต้ของประเทศแอลจีเรีย ภูเขาทีเบสต์ในประเทศชาด ซึ่งเป็นสภาพภูมิประเทศที่มีส่วนช่วยให้เกิดฝนตกในเขตทะเลทราย ทางใต้ของเขตนี้มีที่ราบสูงหลายแห่ง เช่น ที่ราบสูงกินี ที่ราบสูงจอส ที่ราบสูงแคเมอรูน เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
ปัจจัยที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของทวีปแอฟริกาให้มีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
- ที่ตั้ง แอฟริกาตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 37 องศาเหนือ-35 องศาใต้ โดยมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านตอนกลางของทวีป ทำให้เนื้อที่ประมาณ 3ใน 4 ส่วนของทวีปอยู่ในเขตร้อน และมีพื้นที่เพียง 1 ใน 4 ที่อยู่ในเขตอบอุ่น
- ลักษณะภูมิประเทศ เนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 เป็นที่ราบสูง และยังเป็นทวีปที่มีรูปร่างไม่ค่อยเว้าแหว่ง จึงมีอ่าวและคาบสมุทรน้อยมาก ประกอบกับตอนกลางของทวีปตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร เป็นเขตลมสงบที่มีทิศทางการพัดของลมไม่แน่ชัด แอฟริกาจึงได้รับอิทธิพลความชื้นและมวลอากาศจากทะเลน้อยมาก แม้จะมีแนวเทือกเขาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ก็ไม่มีผลต่อความชื้นภายในทวีปมากนัก
- กระแสน้ำ ทางภาคเหนือด้านชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ไหลมาพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและจมลง แล้วมาโผล่ขึ้นแถบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก และดินแดนสะฮาราตะวันตก เรียกว่า กระแสน้ำเย็นคานารี ส่วนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และนามิเบีย มีกระแสน้ำเย็นเบงเก-ลาไหลผ่าน
ดังนั้น การที่ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ในเขตร้อนแต่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านชายฝั่ง ย่อมทำให้ดินแดนที่ตั้งอยู่ชายฝั่งเหล่านั้นมีอากาศไม่ร้อนมากนัก
เขตภูมิอากาศของแอฟริกาแบ่งออกเป็น 6 เขต
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของแนวศูนย์สูตร ซึ่งอยู่รอบๆ เขตป่าดิบชื้น
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติมีอยู่บ้าง เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร ได้แก่ บริเวณตอนเหนือของทวีป มีทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย ซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกัน มีเนื้อที่ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งทวีป และเป็นเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางตอนใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น(สเตปป์) ได้แก่ บริเวณตอนกลางของทวีปและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรระหว่างละติจูด 10-30 องศาใต้ ด้านชายฝั่งตะวันตกของ
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก ภูมิอากาศแบบนี้มีอยู่ 2 บริเวณ คือ ทางตอนเหนือที่เรียกว่า ชายฝั่งบาร์บารี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก ตูนิเซีย กับทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรภาคใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subttropical Climate) เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อน เป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน พบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของประเทศโมซัมบิก
เขตภูมิอากาศของแอฟริกาแบ่งออกเป็น 6 เขต
1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุกพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบ หรือป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งรอบอ่าวกินี ลุ่มแม่น้ำคองโก เขตที่สูงในแอฟริกาตะวันออก และฝั่งตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของแนวศูนย์สูตร ซึ่งอยู่รอบๆ เขตป่าดิบชื้น
3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติมีอยู่บ้าง เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร ได้แก่ บริเวณตอนเหนือของทวีป มีทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบีย ซึ่งมีอาณาเขตต่อเนื่องกัน มีเนื้อที่ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งทวีป และเป็นเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางตอนใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนามิบ
4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสั้น(สเตปป์) ได้แก่ บริเวณตอนกลางของทวีปและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรระหว่างละติจูด 10-30 องศาใต้ ด้านชายฝั่งตะวันตกของ
5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก ภูมิอากาศแบบนี้มีอยู่ 2 บริเวณ คือ ทางตอนเหนือที่เรียกว่า ชายฝั่งบาร์บารี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศโมร็อกโก ตูนิเซีย กับทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรภาคใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subttropical Climate) เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อน เป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน พบในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภาคใต้ของประเทศโมซัมบิก
1.การเพาะปลูก ที่สำคัญได้แก่
– กาแฟ ประเทศที่ผลิตกาแฟในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ บราซิล โคลัมเบีย เอกวาดอร์ โดยเฉพาะบราซิล เป็นประเทศที่ส่งกาแฟออกจำหน่ายมากร้อยละ 50 ของโลก
– โกโก้ ได้จากเมล็ดกาเกา ใช้ทำช็อกโกเลต เครื่องดื่ม และขนมหวาน เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ บราซิลและเอกวาดอร์
– ข้าวโพด เป็นพืชที่ปลูกมากและส่งออกของประเทศบราซิล รองลงมาได้แก่ อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา เปรูและโคลัมเบีย
– ข้าวสาลี ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ อาร์เจนตินา บราซิล ชีลี
– กาแฟ ประเทศที่ผลิตกาแฟในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ บราซิล โคลัมเบีย เอกวาดอร์ โดยเฉพาะบราซิล เป็นประเทศที่ส่งกาแฟออกจำหน่ายมากร้อยละ 50 ของโลก
– โกโก้ ได้จากเมล็ดกาเกา ใช้ทำช็อกโกเลต เครื่องดื่ม และขนมหวาน เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ บราซิลและเอกวาดอร์
– ข้าวโพด เป็นพืชที่ปลูกมากและส่งออกของประเทศบราซิล รองลงมาได้แก่ อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา เปรูและโคลัมเบีย
– ข้าวสาลี ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ อาร์เจนตินา บราซิล ชีลี
2.การเลี้ยวสัตว์ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ทุ่งหญ้ายาโนส ทุ่งหญ้าแคมโปสและทุ่งหญ้ากรันชาโก ส่วนทุ่งหญ้าปามปัสอยู่ในเขตประเทศอาร์เจนตินา อุรุกวัยและตอนใต้ของบราซิล สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่– โคเนื้อ ประเทศที่เลี้ยงโคเนื้อมาก คือ อาร์เจนตินา อุรุกวัย และบราซิล แกะ ประเทศที่เล มากคือ อุรุกวัย เลี้ยงมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากออสเตรเลีย
3.ป่าไม้และผลผลิตจากไม้แหล่งป่าไม้เนื้อแข็งที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และกว้างขวาง คือ ป่าเซลวาสในบริเวณแม่น้ำแอมะซอน แต่มีการนำมาใช้น้อย เพราะการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกควินิน (Quinine) ใช้ทำเป็นยาป้องกันโรคมาลาเรีย ได้จากต้นซิงโคนา ยูคาลิปตอล (Eucalyptol) จากต้นยูคาลิปตัส ใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้ไอ ยางพารา เป็นพืชดั้งเดิมของอเมริกาใต้ ยางไม้ (Chicle) ใช้ทำหมากฝรั่ง ยางบาลาตา (Balata) ใช้หุ้มสายเคเบิลใต้น้ำ และหุ้มลูกกอล์ฟ ฝาด (Tannin) ใช้ฟอกหนัง บราซิลนัด (Brazil nut) ใช้เป็นอาหาร ประเทศที่ผลผลิตไม้และผลผลิตจากป่าไม้ที่สำคัญ คือ บราซิล โคลัมเบีย และเปรู
4.การประมงบริเวณทางชายฝั่งตะวันตกด้านมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณประเทศเปรูและชิลี เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมแห่งหนึ่งของโลก เพราะเป็นบริเวณที่กระแสน้ำเย็นเปรูหรือกระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์กับกระแสน้ำอุ่นใต้เส้นศูนย์สูตรไหลบรรจบกัน
5.การทำเหมืองแร่ อเมริกาใต้มีแร่ธาตุทีสำคัญหลายชนิด ได้แก่– ทองแดง ประเทศที่ผลิตทองแดงได้เป็นอันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศชิลี อยู่ในแคว้นชูคีตมาตานอกจากนี้ยังมีประเทศเปรูและ บราซิล– เหล็ก ประเทศที่ผลิตได้มากเป็นอันดับ 2 ของโลก คือ บราซิล นอกจากนี้ยังประเทศเวเนซุเอลาโบลีเวียและชีลี– ดีบุก ประเทศที่ผลิตได้มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากมาเลเซีย คือ โบลีเวีย อยู่ในเขตที่ราบสูงอัลติพลาโน– สังกะสี ผลิตได้มากในประเทศเปรู อาร์เจนตินา บราซิล– ทองคำ ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ ประเทศบราซิล– น้ำมันปิโตรเลียม ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ เวเนซุเอลา อยู่บริเวณรอบๆ ทะเลสาบมาราไคโบ นอกจากนี้ยังมีในประเทศ บราซิล เอกวาดอร์โบลิเวีย แต่มีปริมาณไม่มาก
6.การอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบา เป็นแปรผลผลิตทางการเกษตร เช่น การผลิตน้ำตาล อาหารกระป๋อง ประเทศที่มีอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าและมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ บราซิลและอาร์เจนตินา เช่น การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า การกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี การผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองใหญ่หรือเมืองหลวง เช่น เซาเปาโล ริโอเดจาเนโร บูเอโนสไอเรสฯลฯ
7.การค้าขาย
สินค้าออก ส่วนใหญ่ของประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ วัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญคือ กาแฟ เนื้อสัตว์ ข้าวโพด กล้วย โกโก้ ฝ้าย น้ำมัน สินแร่เหล็กและทองแดง สินค้าเข้า ส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรและเครื่องยนต์สำหรบการเกษตร ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และสิ่งทอ ในการค้ากับต่างประเทศเกือบทุกประเทศเสียดุลการค้าตลอดมา ยกเว้นประเทศบราซิล เพราะเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท จนมีผลผลิตส่งเป็นสินค้าออก ส่วนเวเนซุเอลา เป็นประเทศที่ส่งน้ำมันดิบเป็นสินค้าออกรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ประเทศคู่การค้าสำคัญของประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและประเทศในทวีปอเมริกาใต้ด้วยกัน
- นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
- บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ
- ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา
- ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก
- บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายคาลาฮารี
- คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน และ จากชาวยุโรป บริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป