ทวีปเอเชีย





ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 5 เขต



1.เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ 
เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตโครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีน่าไหลผ่าน บริเวณนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้







2)เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ และมักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศสหภาพพม่า



3)เขตเทือกเขาหินใหม่ ประกอบด้วยที่ราบและเทือกเขาต่างๆ จุดรวมเรียก ปามีร์นอต แปลว่าหลังคาโลก








4)เขตที่ราบสูงตอนกลางเป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขาที่หินใหม่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับเทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย




5)เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้

ประกอบด้วยราบสูงขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน  ที่ราบสูงเดคคาน  ที่ราบอนาโตเลีย  ที่ราบสูงอาหรับ
                                          ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 5 เขต


แผนที่แสดงเขตภูมิอากาศของทวีปเอเชีย



1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น   เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาเหนือถึง 10 องศาใต้ ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนไม่มากนัก มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร (80 นิ้ว) ต่อปีและมีฝนตกตลอดปี    





 2. ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน หรือร้อนชื้นแถบมรสุม เป็นดินอด้นที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันประมาณปีละ เดือน ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย และคาบสมุทรอินโดจีน  เขตนี้เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ปริมาณน้ำฝนจะสูงในบริเวณด้านต้นลม (Winward side)และมีฝนตกน้อยในด้านปลายลม (Leeward side)  หรือเรียกว่า เขตเงาฝน(Rain shadow)



3. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีลักษณะอากาศคล้ายเขตมรสุม มีฤดูแล้งกับฤดูฝน แต่ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า คือ ประมาณ 1,000-1,500  มิลลิเมตร (40-60 นิ้ว)ต่อปี  อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21 องศา เซลเซียส(70 องศาสฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน ได้แก่ บริเวณตอนกลางของอินเดีย พม่า และคาบสมุทรอินโดจีน



4. ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น อยู่ในเขตอบอุ่นแต่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม มีฝนตกในฤดูร้อนฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ได้แก่ บริเวณภาคตะวันตกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี ฮ่องกง ตอนเหนือของอินเดีย ในลาว และตอนเหนือของเวียตนาม





6. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น  มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน และอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว มีฝนตกบ้างในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ได้แก่ ภาคตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับตอนกลางของประเทศตุรกี ตอนเหนือของภาคกลางของอิหร่าน ในมองโกเลีย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

7. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย   มี ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืน และฤดูร้อน

O

8. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  มีอากาศในฤดูร้อน ร้อนและแห้งแล้ง  ใน เลบานอน อิสราเอล และตอนเหนือของอิรัก


9. ภูมิอากาศแบบไทกา (กึ่งขั้วโลก)  มีฤดูหนาวยาวนานและหนาวจัด ฤดูร้อนสั้น มีน้ำค้างแข็งได้ทุกเวลา และฝนตกในรูปของหิมะ ได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของทวีปบริเวณไซบีเรีย



    


10. ภูมิอากาศแบบทุนดรา (ขั้วโลก)  เขตนี้มีฤดูหนาวยาวนานมาก อากาศหนาวจัด มีหิมะปกคลุมตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน


11. ภูมิอากาศแบบที่สูง  ในเขตที่สูงอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงในอัตราความสูงเฉลี่ยประมาณ 1 องศาเซลเซียสต่อความสูง 10 เมตร จึงปรากฎว่ายอดเขาสูงบางแห่งแม้จะอยู่ในเขตร้อน ก็มีหิมะปกคลุมทั้งปี หรือเกือบตลอดด้แก่ ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาหิมาลัย  เทือกเขาคุนลุน และเทือกเขาเทียนชาน ซึ่งมีความสูงประมาณ 5,000-8,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีหิมะปกคลุมและมีอากาศหนาวเย

       ลักษณะทางเศรษฐกิจ
  • ถ่านหิน ทวีปเอเชียมีถ่านหินมากที่สุดในโลกคือ ประมาณ 3 ใน 5 ของปริมาณถ่านหินสำรองของโลก แหล่งสำคัญอยู่ในประเทศจีน อินเดีย ไซบีเรีย และในคาบสมุทรเกาหลี
  • เหล็ก มีสินแร่เหล็กอยู่ถึง 2 ใน 3 ของปริมาณเหล็กสำรองของโลก แหล่งสำคัญมีในจีน อินเดีย
  • ดีบุก ทวีปเอเชียผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดในโลก ได้แก่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย
  • ปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ ทวีปเอเชียเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดในโลก แหล่งน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติได้แก่ บริเวณอ่าวเปอร์เชีย ทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

  • นอกจากนี้ทวีปเอเชียยังมีแร่ธาตุอยู่อีกหลายชนิดที่มีปริมาณมากได้แก่ ทังสเตน โครไมต์ แมงกานีส ปรอท สังกะสี ไมกา และรัตนชาติ


ทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่ แร่ธาตุ เอเชียเป็นทวีปที่อุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆที่สำคัญมีดังนี้
ดิน ความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรดินย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศ ในเขตอากาศแบบทุนดราและไทกาที่มีหิมะปกคลุม เป็นดินชื้นแฉะไม่สามารถนำทรัพยากรดินมาใช้ในการเกษตรได้ ในเขตอบอุ่นที่มีปริมาณฝนปานกลางดินมีความอุดมสมบรูณ์ ในเขตแห้งแล้งและที่สูงดินขาดความชื้นจึงเป็นดินที่ไม่อุดมสมบรูณ์ ส่วนเขตร้อนชื้นส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง เนื่องจากมีฝนตกชุก น้ำฝนชะล้างสารอาหารของพืชออกไป จึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ดินอุดมสมบรูณ์ในเขตร้อน ได้แก่ดินตะกอนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆและดินภูเขาไฟในหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เหมาะแก่การปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย
น้ำ เขตภูมิอากาศแบบมรสุมและเขตศูนย์สูตรโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลและเป็นภูมิประเทศด้านต้นลม จะมีฝนตกชุกจึงเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่อยู่ลึกเข้าไปหรือด้านปลายลมที่มีปริมาณฝนน้อยเป็นเขตแห้งแล้ง และบางแห่งมีการสร้างเขื่อนที่มีแม่น้ำสายยาวไหลผ่าน สามารถนำทรัพยากรน้ำมาใช้ประโยชน์ได้
ป่าไม้ เอเชียมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่าทุกทวีป ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้สนเนื้ออ่อน ลักษณะป่าไม้ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าไทกา ซึ่งเป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อนที่สำคัญที่สุดของทวีป ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่นเป็นป่าไม้เนื้อแข็งผสมป่าสน ได้แก่ ไม้เมเปิล ไม้โอ๊ค ไม้วอลนัต ป่าไม้เขตร้อนส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ได้แก่ ไม้มะฮอกกานี ไม้มะเกลือ ไม้ยางส่วนในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งยาวนานขึ้นส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่
สัตว์ป่า เขตป่าไม้ของเอเชียมีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนและพื้นที่ป่าไม้เขตอบอุ่น ส่วนสัตว์น้ำมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำภายในทวีปมากมายและการที่ทวีปเอเชียมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลและมหาสมุทรถึงสามด้านจึงเป็นทวีปที่มีทรัพยากร สัตว์น้ำเค็มมากด้วย



ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้
  • เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งได้เป็น 2 พวก
  • พวกมองโกลอยด์เหนือ
  • พวกมองโกลอยด์ใต้
  • เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์
  • เผ่าพันธุ์นิกรอยด์