ทวีปออสเตเรีย






ลักษณะภูมิประเทศ


ประเทศออสเตรเลียมีลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการผุพังของหินที่เก่าแก่ โครงสร้างและ
ลักษณะภูมิประเทศของออสเตรเลีย สามารถแบ่งออกเป็น 3 เขตใหญ่ๆ คือ
1. บริเวณที่สูงด้านตะวันออก บริเวณนี้มีเทือกเขาสูงวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ขนานไปกับ
ชายฝั่งตะวันออกมีระยะทางยาวประมาณ 3,500 เรียกว่า เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing
Range) โดยเริ่มจากตอนใต้ของคาบสมุทรเคปยอร์กตอนเหนือ ทอดตัวยาวขนานชายฝั่งไปจนถึง
ช่องแคบบาสส์ทางตอนใต้ของประเทศ มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ในเขตเทือกเขานี้ทางตอนใต้ ชื่อยอด
เขาคอสซีอัสโก (Kosciusko) มีความสูงจากทะเลปานกลางประมาณ 2,2282 เมตร สูงน้อยกว่าดอย
อินทนนท์ของประเทศไทย ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,565 เมตร ในเทือกเขาเกรตดิไวดิง ประกอบ
ด้วยเทือกเขาอีกหลายทิวและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์รีย์ แม่น้ำ
วอร์เรโก แม่น้ำฟลินเดอร์ แม่น้ำเมอรัมบิดจี เป็นต้น ลักษณะการวางตัวของแนวเทือกเขาทำให้เป็น
แนวปะทะลม ดังนั้นจึงทำให้ฝนตกหนักบริเวณด้านหน้าเทือกเขาซึ่งเป็นด้านรับลม ขณะที่ด้านหลัง
ของเทือกเขาจะมีฝนน้อยกว่าจึงเป็นเขตเงาฝน
2. บริเวณที่ราบสูงด้านตะวันตก บริเวณนี้ครอบคลุมเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ มี
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง เฉลี่ยประมาณ 300 เมตร ที่ราบสูง
นี้มีระดับสูงมากทางด้านตะวันตก ลาดเทไปด้านตะวันออกซึ่งเป็นตอนในของแผ่นดิน ที่ราบสูงที่
สำคัญ ได้แก่ ที่ราบสูงคิมเบอร์เลย์และที่ราบสูงบาร์กลี มีเทือกเขาซึ่งมีระดับสูงไม่มากนักแทรกสลับ
อยู่เป็นตอนๆ ได้แก่ เทือกเขาแฮเมอร์สลีย์ เทือกเขามัสเกรฟ และ เทือกเขาแมคดอนเนลล์
3. บริเวณที่ราบต่ำตอนกลาง เป็นพื้นที่อยู่ตรงกลางประเทศ ซึ่งขนาบข้างด้วยที่ราบสูงด้าน
ตะวันตกและที่ราบสูงด้านตะวันออก หรือเป็นที่ราบต่ำตั้งแต่อ่าวคาร์เพนทาเรีย ทางด้านเหนือจนถึง
อ่าวสเปนเซอร์และอ่าวเกรตออสเตรเลียนทางด้านใต้ พื้นที่นี้มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประมาณ 200 เมตร จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ที่ราบตอนกลางของประเทศ (The Central Plain) โดย
รวมแล้วมีลักษณะเป็นที่ ราบที่ เกือบจะต่อเนื่องกันประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของออสเตรเลีย
1. ตำแหน่งที่ตั้งตามแนวละติจูด       ออสเตรเลียตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาใต้ ถึง 40 องศาใต้ มีเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นลากผ่านกลางทำให้มีพื้นที่อยู่ในเขตอากาศร้อนและอบอุ่นของโลก  ไม่มีพื้นที่อยู่ในเขตอากาศหนาว
2. ทิศทางลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านออสเตรเลีย มีดังนี้
1.1 ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้        พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ฝั่งตะวันออกตลอดปี ทำให้มีฝนชุกด้านตะวันออก ไม่มีฤดูแล้ง
1.2 ลมตะวันตกเฉียงใต้             พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ทำให้มีฝนชุก ทางตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว  ส่วนฤดูร้อนจะแห้งแล้ง
1.3 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดจากทะเลติมอร์และทะเลอาราฟูรา เข้าสู่ฝั่งทางภาคเหนือในฤดูร้อน ทำให้มีฝนชุกในช่วงฤดูร้อนทางตอนเหนือ ส่วนฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง
3. ระยะห่างจากทะเล     ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ความกว้างมาก ทำให้พื้นที่ตอนในอยู่ห่างไกลทะเลมาก  ส่งผลให้ตอนในของออสเตรเลีย แห้งแล้ง เป็นทะเลทรายหลายแห่ง
     4.  ทิศทางการวางตัวของเทือกเขา   เทือกเขาเกรตดิไวดิงวางตัวขนานชายฝั่งในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้สกัดกั้น  ความชื้นเข้าสู่ในทวีปด้านตะวันออก
     5. กระแสน้ำในมหาสมุทร  มี 3 สาย  ได้แก่
1.1 กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก  ไหลเลียบฝั่งด้านตะวันตก ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดต่ำลง
1.2 กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตรใต้ ไหลเลียบฝั่งทางเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศบริเวณนี้อบอุ่นและชุ่มชื้น
1.3 กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก   ไหลเลียบฝั่งด้านตะวันออก ทำให้อากาศบริเวณนี้อบอุ่นและชุ่มชื้น

ลักษณะภูมิอากาศของออสเตรเลีย แบ่งเป็น 7 เขต ดังนี้

1.     ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น(ป่าไม้เขตร้อน)
ลักษณะ                               มีอุณหภูมิสูงตลอดปี มีฝนตกในฤดูร้อน
พืชพรรณธรรมชาติ              ป่าไม้เขตร้อน
บริเวณที่พบ                         ชายฝั่งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.     ภูมิอากาศร้อนชื้นสลับแล้ง(ทุ่งหญ้าเขตร้อน)
ลักษณะ                               มีอุณหภูมิสูงตลอดปี ฝนตกในฤดูร้อน แต่น้อยกว่าแบบร้อนชื้น และมี
ฤดูแล้งคั่นสลับยาวนานกว่า
พืชพรรณธรรมชาติ              ทุ่งหญ้าเขตร้อน หรือทุ่งหญ้าสะวันนา
บริเวณที่พบ                         อยู่ถัดจากชายฝั่งตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเข้ามาตอนใน

3.     ภูมิอากาศทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
ลักษณะ                               ร้อน มีฝนค่อนข้างน้อย
พืชพรรณธรรมชาติ              ทุ่งหญ้าที่มีหญ้าขึ้นเบาบาง
บริเวณที่พบ                         อยู่เชื่อมต่อระหว่างอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้งกับอากาศ แห้งแล้ง
แบบทะเลทราย

4.     ภูมิอากาศแบบทะเลทราย
ลักษณะ                               แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยไม่ถึง 300 มิลลิเมตรต่อปี
พืชพรรณธรรมชาติ              พืชทะเลทรายพวกกระบองเพชร
บริเวณที่พบ                         ภาคตะวันตกและภาคกลาง
ทะเลทรายที่พบ                   ทะเลทราบเกรตแซนดี    ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย    ทะเลทรายกิบ
สัน    ทะเลทรายซิมป์สัน    ทะเลทรายทานามิ    ทะเลทรายสจ๊วต
ทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ของออสเตรเลียมีพื้นที่เท่าๆกัน คือ ทะเล
ทรายเกรตแซนดีและทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย

5.     ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
ลักษณะอบอุ่น มีฝนตกในฤดูหนาว  ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง
พืชพรรณธรรมชาตไม้คอร์ก  ไม้โอ๊ค  มีเปลือกหนา ลำต้นไม่สูงมากสลับกับทุ่งหญ้า
บริเวณที่พบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเกรตออสเตรเลียนไบท์

6.     ภูมิอากาศอบอุ่นชื้น
ลักษณะ อบอุ่น ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวเย็นมาก มีฝนตกชุกตลอดปี
พืชพรรณธรรมชาติป่าไม้เขตอบอุ่น
บริเวณที่พบ ชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้

7.     ภูมิอากาศภาคพื้นสมุทร
ลักษณะอบอุ่น  ฤดูหนาวค่อนข้างหนาวเย็น มีฝนตกชุกตลอดปี
พืชพรรณธรรมชาติ ป่าไม้เขตอบอุ่น
บริเวณที่พบ  ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้เขตรัฐนิวเซาท์เวลส์  รัฐวิกตอเรีย  และเกาะแทสมาเนีย
เนื่องจากอากาศบริเวณนี้มีลักษณะคล้ายกับอากาศในยุโรปตะวันตก ดังนั้น ชาวอังกฤษจึงเลือกตั้งอาณานิคมแห่งแรก
ที่รัฐนิวเซาท์เวลส์



เศรษฐกิจของออสเตรเลีย คือ


  1. การเพาะปลูก แหล่งเพาะปลูกสำคัญได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์ - ดาร์ลิง เกาะแทสเมเนีย พืชสำคัญคือ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ทำกันในไร่นาแปลงใหญ่ ๆ ใช้เครื่องจักรทุ่นแรง
  1. การเลี้ยงสัตว์ คือ โคเนื้อ และแกะพันธุ์เมอริโน ให้ขนปุยยาว ขนแกะเป็นสินค้าออกที่สำคัญ

  1. การล่าสัตว์ ชาวพื้นเมือง ใช้เครื่องมือง่าย ๆ ล่าสัตว์ เช่น หอกและบูมเมอแรง เป็นต้น

  1. การประมงไม่เด่นนัก เนื่องจากยังขาดแรงงาน และอุปกรณ์
  1. การทำป่าไม้ มีพื้นที่ป่าไม้น้อย และเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่ำ ไม้เนื้ออ่อน เช่น ต้นยูคาลิปตัส จะใช้ทำเยื่อกระดาษ เป็นต้น

  1. การอุตสาหกรรม ออสเตรเลียมีทรัพยากรมาก ประชากรมีคุณภาพ มีเทคโนโลยีทันสมัย มีเงินทุนสูง การอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้า เมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรม เมืองซิดนีย์ เมืองนิวคาสเซิล
  1. การพาณิชยกรรม สินค้าออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่นเนื้อสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ นมเนย และข้าวสาลี น้ำตาล เครื่องจักรกล ผลไม้ เป็นต้น สินค้าเข้าคือ สินแร่ เครื่องจักร ปุ๋ย อาหาร เสื้อผ้า





ประชากร ประเทศออสเตรเลีย ประกอบด้วย
  1. ชนผิวขาวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ มีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับชาวยุโรป 
  2. ประชากรที่เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิม เรียกว่า ชาวอะบอริจินี มีรูปร่างค่อนข้างเตี้ย ผิวคล้ำ ผมหยิก จมูกแบน ริมฝีปากหนา อาศัยอยู่ในรัฐควีนสแลนด์ แทร์ริทอรีเหนือ ออสเตรเลียตะวันตก คนพวกนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าชนบท แถบชายฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป เพราะมีลักษณะอากาศแบบอบอุ่นชื้น เมืองสำคัญได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น บริสเบน ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันตก ประชากรเบาบางเพราะเป็นเขตแห้งแล้ง และทะเลทราย