วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
แนะนำ
ความหมายของทวีป
ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีป
การแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปอเมริกา นักภูมิศาสตร์บางท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย)
เว็บไซต์เพิ่มเติม
ทวีปทั้ง 7 ของโลก
1.ทวีปเอเชีย
เป็นทวีปที่มีพื้นที่มากที่สุด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17,128,500 ตารางไมล์ เป็นทวีปทีมีประชากรมากที่สุดในโลก คือมีประมาณ 2,300,000 คน ยอดเขาเอเวอร์เร็สต์เป็นยดเขาที่สูงที่สุดในโลก
2.ทวีปแอฟริกา
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,707,000 ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 380,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ เทือกเขาคิลิมานจาโร สูงประมาณ 19,340 ฟุต อยู่ในประเทศแทนซาเนีย
3.ทวีปอเมริกาเหนือ
มีพื้นที่ประมาณ 9,363,000 ตารางไมลื มีประชากรอาศัยอยู๋ประมาณ 340,000,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาแมคดินเลย์ สูงประมาณ 20,320 ฟุต อยู่ในรัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา
4.ทวีปอเมริกาใต้
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,885,700 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 210,00,000 คน จุดที่สูงที่สุดของทวีป คือ ยอดเขาอะคอนดากัว สูงประมาณ 23,034 ฟุต อยู่ระหว่าง ประเทศซิลีกับอาร์เจนตินา
5.ทวีปยุโรป
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,056,000 ตารางไมล์มีประชากรประมาณ 660,000,000 คน จุดสูงสุดของทวีป คือ ยอดเขามองต์ปลัง สุงประมาณ 15,781 ฟุต อยู่ในประเทศฝรั่งเศส
6.ทวีปออสเตรเลีย
เป็นทวีปที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,987,900 ตารางไมลื มีประชากรประมาณ 14,000,000 คน จุดที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาคอสเซียสโค มีความสุงประมาณ 7,374 ฟุต
7.ทวีปแอนตาร์กติก
มีพื้นที่ประมาณ 6,000,000 ตารางไมล์ เป็นทวีปที่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่เลย ตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกใต้
ทวีปแอนตาร์กติกา
แอนตาร์กติกา (อังกฤษ: Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร (แต่มีสถานีวิจัยกระจายอยู่ทั่วทวีป) สิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นได้แก่ เพนกวิน แมวน้ำ และสาหร่าย
แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ ("Terra Australis") ย้อนไปถึงยุคโบราณ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับกันว่ามีการพบเห็นทวีปแอนตาร์กติกาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) และลงเหยียบพื้นน้ำแข็งครั้งแรกในปีต่อมา อย่างไรก็ตาม แผนที่ของพลเรือเอกปีรี ไรส์ ที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ได้บรรจุดินแดนนี้ไว้ โดยมีรูปร่างคล้ายคลึงกับชายฝั่งแอนตาร์กติกา
ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้แต่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก (ความจริงแล้วไม่มีประชากรอยู่ถาวร) นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่มีระดับความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ความชื้นเฉลี่ยและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก
แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิลรอบขั้วโลกใต้ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[1]
แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ ("Terra Australis") ย้อนไปถึงยุคโบราณ แต่ส่วนใหญ่ยอมรับกันว่ามีการพบเห็นทวีปแอนตาร์กติกาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) และลงเหยียบพื้นน้ำแข็งครั้งแรกในปีต่อมา อย่างไรก็ตาม แผนที่ของพลเรือเอกปีรี ไรส์ ที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ได้บรรจุดินแดนนี้ไว้ โดยมีรูปร่างคล้ายคลึงกับชายฝั่งแอนตาร์กติกา
ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้แต่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก (ความจริงแล้วไม่มีประชากรอยู่ถาวร) นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่มีระดับความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ความชื้นเฉลี่ยและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก
แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิลรอบขั้วโลกใต้ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[1]
ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา แผ่นน้ำแข็งซึ่งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร[2]
จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซิฟ มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัสบนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน
จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซิฟ มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัสบนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน
ทวีปอเมริกา
ทวีปอเมริกา (Americas) เป็นคำเรียกรวม ๆ หมายถึงทั้งทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้รวมกัน ซึ่งแก้ปัญหาความสับสนในภาษาอังกฤษของคำว่า "America" (ไม่มี s) ซึ่งอาจหมายถึงอเมริกาเหนือหรือใต้ก็ได้ ในบางครั้งผู้เรียกยังอาจหมายถึงประเทศชื่อสหรัฐอเมริกาด้วย
ทวีปอเมริกาเป็นดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 3 ส่วน คือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้. คำว่า "อเมริกา" ในที่นี้ยังรวมถึงหมู่เกาะแคริบเบียน และเกาะกรีนแลนด์ (แต่ไม่รวมประเทศไอซ์แลนด์) บริเวณคอคอดของอเมริกากลางมักถูกนำไปรวมกับอเมริกาเหนือ
คำว่า "อเมริกา" มีที่มาที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถหาหลักฐานได้คือ พ.ศ. 2050 โดยนักเขียนแผนที่ชาวเยอรมันชื่อ Martin ได้ใส่คำว่า America ลงในแผนที่โลกของเขา และอธิบายว่าชื่อนี้นำมาจากชื่อภาษาละตินของนักสำรวจ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินได้ว่า Americus Vespucius และแปลงเป็นเพศหญิงได้เป็นคำว่า America (ในภาษาที่มีเพศอย่างภาษาละติน ทวีปจัดว่าเป็นเพศหญิง) ส่วน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นผู้พบทวีปอเมริกาเป็นคนแรก เสียชีวิตก่อนใน พ.ศ. 2049 โดยที่ยังเข้าใจว่าเขาค้นพบทวีปเอเซียบริเวณประเทศอินเดีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่พบอเมริกาเป็นคนแรกคือชาวไวกิ้ง ชื่อ Leif
ทวีปอเมริกาเป็นดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 3 ส่วน คือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้. คำว่า "อเมริกา" ในที่นี้ยังรวมถึงหมู่เกาะแคริบเบียน และเกาะกรีนแลนด์ (แต่ไม่รวมประเทศไอซ์แลนด์) บริเวณคอคอดของอเมริกากลางมักถูกนำไปรวมกับอเมริกาเหนือ
คำว่า "อเมริกา" มีที่มาที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถหาหลักฐานได้คือ พ.ศ. 2050 โดยนักเขียนแผนที่ชาวเยอรมันชื่อ Martin ได้ใส่คำว่า America ลงในแผนที่โลกของเขา และอธิบายว่าชื่อนี้นำมาจากชื่อภาษาละตินของนักสำรวจ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินได้ว่า Americus Vespucius และแปลงเป็นเพศหญิงได้เป็นคำว่า America (ในภาษาที่มีเพศอย่างภาษาละติน ทวีปจัดว่าเป็นเพศหญิง) ส่วน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นผู้พบทวีปอเมริกาเป็นคนแรก เสียชีวิตก่อนใน พ.ศ. 2049 โดยที่ยังเข้าใจว่าเขาค้นพบทวีปเอเซียบริเวณประเทศอินเดีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ที่พบอเมริกาเป็นคนแรกคือชาวไวกิ้ง ชื่อ Leif
ทวีปแอฟริกา
ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[1] ประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน (พ.ศ. 2552) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดงบริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ รวมทั้งมาดากัสการ์ หมู่เกาะต่าง ๆ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา แต่ยังคงถูกโต้แย้งเรื่องสถานภาพความเป็นอธิปไตยโดยโมร็อกโก
จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดงบริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ รวมทั้งมาดากัสการ์ หมู่เกาะต่าง ๆ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา แต่ยังคงถูกโต้แย้งเรื่องสถานภาพความเป็นอธิปไตยโดยโมร็อกโก
จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป
- เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 แนว
- เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
- เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
- ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
- ทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก'
- เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบและทะเลทรายคาลาฮารี
- แม่น้ำ
- แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
- แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
- แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก
กระแสน้ำในมหาสมุทร
- กระแสน้ำเย็นคะเนรี
- กระแสน้ำอุ่นกินี
- กระแสน้ำเย็นเบงเกลา
ทวีปเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย มีเขตแดนที่คลุมเครือโดยเฉพาะเขตต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป ทวีปเอเชียกับแอฟริกาบรรจบกันที่ใดที่หนึ่งใกล้กับคลองสุเอซในอียิปต์ แนวเขตแดนระหว่างเอเชียกับยุโรปผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์ ทะเลมาร์มะรา ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลดำ แนวสันเขาบริเวณเทือกเขาคอเคซัส (บางคนว่าผ่านทะลุแอ่งคูมา-มานิช) ทะเลแคสเปียน แม่น้ำยูรัล (บางคนว่าผ่านแม่น้ำเอมบา) และเทือกเขายูรัล ถึงหมู่เกาะโนวายาเซมเลีย เอเชียมีประชากรราวร้อยละ 60 ของประชากรโลก
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค (ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค) ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดคือเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่คือเอเชียกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด
ลักษณะภูมิประเทศ
เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค (ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค) ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดคือเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่คือเอเชียกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด
ลักษณะภูมิประเทศ
เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก
เขตภูเขาและที่ราบสูง (หินใหม่)
กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลียเขตที่ราบสูงเก่า
ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ในคาบสมุทรอินเดีย และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ในคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้
- ที่ราบสูงเดกกัน เกิดจากการที่แผ่นดินส่วนหนึ่งจากทวีปแอนตาร์กติกาเคลื่อนตัวมาชนกับแผ่นทวีปเอเชียจนทำให้เกิดเป็นภูเขาขึ้นมาทางด้านแนวชนที่เกิดขึ้น จากตะกอนทะเลทำให้เกิดเป็นเทือกเขาหินสูงตระหง่านที่ชื่อ "หิมาลัย"
- ที่ราบสูงอาหรับ เกิดจากการที่หินใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแนวหุบเหวลึกจนกลายเป็นทะเลแดงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังปรากฏภูมิประเทศแบบทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ โดยเฉพาะในดินแดนของประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น
ทวีปเอเชียมีที่ราบลุ่มแม่น้ำหลายสาย ซึ่งแม่น้ำบางสาย เช่น แม่น้ำหวางเหอ (แม่น้ำเหลือง) แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ปัจจุบัน แม่น้ำเหล่านี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่สำคัญและเป็นเมืองใหญ่ ดินบริเวณนี้ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำพัดพาไปทับถมจึงเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำหวางเหอ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำจือ (ซีเจียง) ในประเทศจีน
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม แม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า เป็นต้น
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียใต้ ได้แก่ แม่น้ำคงคาในประเทศอินเดียแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน แม่น้ำพรหมบุตรในประเทศบังกลาเทศเป็นต้น
- แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน
ทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลีย แต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมีประชากรราว 799,466,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก
ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
- เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศสภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
- เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
- เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
- เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อย ๆ
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน
ทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลีย แต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมีประชากรราว 799,466,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก
ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
ทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลีย แต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมีประชากรราว 799,466,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก
ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
- เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศสภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
- เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
- เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
- เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อย ๆ
อื่นๆ
โลกของเรามีกี่ประเทศ
โลกของเรามีกี่ประเทศ
โดยหลักเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์ ในการกำหนดความเป็นประเทศต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ดังนี้ ดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ต้องได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเสียก่อน จึงจะมีสถานะเป็นประเทศที่แท้จริงได้
ในปัจจุบันโลกของเรานี้มี 193 ประเทศ แยกตามทวีป ดังนี้
ทวีปเอเชีย มี 48 ประเทศ 1.อัฟกานิสถาน 2.อาร์เมเนีย 3.อาเซอร์ไบจาน 4.บาห์เรน 5.บังกลาเทศ 6.ภูฏาน 7.บรูไนดารุสซาลาม 8.กัมพูชา 9.จีน 10.ไซปรัส 11.จอร์เจีย 12.อินเดีย 13.อินโดนีเซีย 14.อิหร่าน 15.อิรัก 16.อิสราเอล 17.ญี่ปุ่น 18.จอร์แดน 19.คาซัคสถาน 20.เกาหลีเหนือ 21.เกาหลีใต้ 22.คูเวต 23.ตีร์กีซสถาน 24.ลาว 25.เลบานอน 26.มาเลเซีย 27.มัลดีฟส์ 28.มองโกเลีย 29.พม่า 30.เนปาล 31.โอมาน
32.ปากีสถาน 33.ฟิลิปปินส์ 34.กาตาร์ 35.ซาอุดีอาระเบีย 36.สิงคโปร์ 37.ศรีลังกา 38.ซีเรีย 39.ทาจิกิสถาน 40.ไทย 41.ตุรกี 42.เติร์กเมนิสถาน 43.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 44.อุซเบกิสถาน 45.เวียดนาม 46.เยเมน 47.ติมอร์เลสเต และ 48.ไต้หวัน (แต่สหประชาชาติไม่รับรองเป็นประเทศ)
ทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มี 14 ประเทศ 1.ออสเตรเลีย 2.ฟิจิ 3.คิริบาตี 4.หมู่เกาะมาร์แชลล์ 5.ไมโครนีเซีย 6.นาอูรู 7.นิวซีแลนด์ 8.ปาเลา 9.ปาปัวนิวกีนี 10.ซามัว 11.หมู่เกาะโซโลมอน 12.ตองกา 13. ตูวาลู 14.วานูอาตู
ทวีปยุโรป มี 43 ประเทศ 1.แอลเบเนีย 2.อันดอร์รา 3.ออสเตรีย 4.เบลารุส 5.เบลเยียม 6.บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 7.บัลแกเรีย 8.โครเอเชีย 9.เช็ก 10.เดนมาร์ก 11.เอสโตเนีย 12.ฟินแลนด์ 13.ฝรั่งเศส 14.เยอรมนี 15.กรีซ 16.ฮังการี 17.ไอซ์แลนด์ 18.ไอร์แลนด์ 19.อิตาลี 20.ลัตเวีย 21.ลิกเตนสไตน์ 22.ลิทัวเนีย 23.ลักเซมเบิร์ก 24.มาซิโดเนีย 25.มอลตา 26.มอลโดวา 27.โมนาโก 28.เนเธอร์แลนด์ 29.นอร์เวย์ 30.โปแลนด์ 31.โปรตุเกส 32.โรมาเนีย 33.รัสเซีย 34.ซานมารีโน 35.สโลวะเกีย 36.สโลวีเนีย 37.สเปน 38.สวีเดน 39.สวิตเซอร์แลนด์ 40.ยูเครน 41.สหราชอาณาจักร 42.นครรัฐวาติกัน 43.เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
ทวีปอเมริกาเหนือ มี 22 ประเทศ 1.กัวเตมาลา 2.เกรเนดา 3.คอสตาริกา 4.คิวบา 5.แคนาดา 6.จาเมกา 7.เซนต์คิตส์และเนวิส (เซนต์คริสโตเฟอร์เนวิส) 8.เซนต์ลูเซีย 9.เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 10.โดมินิกา 11.บาร์เบโดส 12.นิการากัว 13.บาฮามาส 14.เบลีซ 15.ปานามา 16.เม็กซิโก 17.สหรัฐอเมริกา 18.โดมินิกัน 19.เอลซัลวาดอร์ 20.แอนติกาและบาร์บูดา 21.ฮอนดูรัส 22.เฮติ
ทวีปอเมริกาใต้ มี 13 ประเทศ 1.กายอานา 2.โคลอมเบีย 3.ชิลี 4.ซูรินาเม 5.ตรินิแดดและโตเบโก 6.บราซิล 7.โบลิเวีย 8.ปารากวัย 9.เปรู 10.เวเนซุเอลา 11.อาร์เจนตินา 12.อุรุกวัย 13.เอกวาดอร์
ทวีปแอฟริกา มี 53 ประเทศ 1.กานา 2.กาบอง 3.กินิบิสเซา 4.กินี 5.แกมเบีย 6.โกตดิวัวร์ 7.คองโก 8.คอโมโรส 9.เคนยา 10.เคปเวิร์ด 11.แคเมอรูน 12.จิบูตี 13.ชาด 14.ซิมบับเว 15.ซูดาน 16.เซเชลส์ 17.เซเนกัล 18.เซาโตเมและปรินซิเป 19.เซียร์ราลีโอน 20.แซมเบีย 21.โซมาเลีย 22.ตูนิเซีย 23.โตโก 24.แทนซาเนีย 25.นามิเบีย 26.ไนจีเรีย 27.ไนเจอร์ 28.บอตสวานา 29.บุรุนดี 30.บูร์กินาฟาโซ 31.เบนิน 32.มอริเซียส 33.มอริเตเนีย
34.มาดากัสการ์ 35.มาลาวี 36.มาลี 37.โมซัมบิก 38.โมร็อกโก 39.ยูกันดา 40.รวันดา 41.ลิเบีย 42.เลโซโท 43.ไลบีเรีย 44.สวาซิแลนด์ 45.คองโก 46.แอฟริกากลาง 47.อิเควทอเรียลกินี 48.อียิปต์ 49.เอธิโอเปีย 50.เอริเทรีย 51.แองโกลา 52.แอฟริกาใต้ 53.แอลจีเรีย
ทุกทวีปในโลกเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน
นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น
รูป แผ่นเปลือกโลก แสดงรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก (1 แผ่นยูเรเซีย 2 แผ่นอเมริกา 3 แผ่นแปซิฟิก 4 แผ่นออสเตรเลีย 5 แผ่นแอนตาร์กติกา 6 แผ่นแอฟริกา)
จากรูป แผ่นเปลือกโลก จะเห็นว่าเปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น ดังนี้
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ซึ่งมีทฤษฎีและหลักฐานต่างๆ มากมาย เพื่อพิสูจน์ว่าโลกเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน แล้วแยกออกจากกันจนเป็นรูปร่างที่เห็นในปัจจุบัน ได้แก่
ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย อัลเฟรด เวเจเนอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่งมีใจความว่า เมื่อ 180 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งโผล่พ้นผิวน้ำที่ติดกันเป็นทวีปเดียว เรียกทวีปใหญ่นี้ว่า แพงกีอา (pangaea)ซึ่งแปลว่า all land หรือ แผ่นดินทั้งหมด เมื่อเลาผ่านไป แพงกีอาเริ่มแยกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนขยับเขยื้อนเคลื่อนที่แยกจากกันไปเป็นทวีปต่างๆ ดังปรากฏในปัจจุบัน
รูปทวีปเดียวตามแนวคิดของ อัลเฟรด เวเจเนอร์
หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเจเนอร์
1. หลักฐานสภาพรูปร่างของทวีป
รูปร่างของทวีปต่างๆ สามกันได้อย่างพอเหมาะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทวีปแอฟริกากับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
รูปทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา
2. หลักฐานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
มีการอ้างหลักฐานการพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และชั้นของหินชนิดเดียวกันในสองทวี แถบที่อยู่ด้านเดียวกันหรือใกล้เคียง เวเกเนอร์ได้เสนอแนะให้ลองพิจารณารูปร่างของทวีปต่างๆ บนแผนที่โลก เวเกเนอร์ยังได้ศึกษาซากฟอสซิลของพืชและสัตว์ที่มีอยู่ตามแนวชายฝั่ง (Coastline) ทั้งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา ซึ่งพบว่าบริเวณที่แนว ชายฝั่งทวีปทั้งสองต่อตรงกันนั้น ซากฟอสซิลที่พบก็เหมือนกันทุกอย่างด้วยซึ่ง หมายความว่าพืชและสัตว์ที่กลายเป็นฟอสซิลนั้นเป็นชนิดเดียวกัน หากทวีปทั้งสอง อยู่แยกกันมาอย่างในปัจจุบัน โดยมีมหาสมุทรคั่นระหว่างทวีปเช่นนี้ แล้วพวก พืชและสัตว์ในอดีตเหล่านี้จะเดินทางจากทวีปหนึ่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่อีกทวีปหนึ่งได้อย่างไร ข้อสังเกตนี้สนับสนุนสมมติฐานของเวเกเนอร์ที่ว่า ทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาเดิมเป็นผืนดินเดียวกัน
ทำไมเปลือกโลกจึงมีการเปลี่ยนแปลง
ประมาณ พ.ศ. 2163 อัลเฟรด เวเนเจอร์ ได้สันนิษฐานว่าผิวโลกเดิมมีส่วนเดียว เป็นทวีปใหม่ทวีปเดียวให้ชื่อว่าแพงอีกา แปลว่าแผ่นดินทั้งหมด
จากข้อมูลปัจจุบันจะเห็นว่าทวีปต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลกจะมีทะเลและมหาสมุทรคั่น และพบว่า ทวีปเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เพราะหินหนืด
นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกไม่ได้ติดกันเป็นแผ่นแต่มีรอยลึกแยกลงไปจากผิวโลกอยู่ทั่วไป เรียกแต่ละแผ่นของเปลือกโลกว่า แผ่นเปลือกโลก ซึ่งประกอบด้วยแผ่นใหญ่ๆ จำนวน 6 แผ่น
ได้แก่
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป รวมทั้งพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศทั้งสอง
5. แผ่นแอนตาร์กติก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบๆ ทวีปนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ รองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ธรรมชาติและมนุษย์ ธรรมชาติเป็นสาเหตุทำให้เปลือกโลก ได้แก่
1) การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
2) การเกิดแผ่นดินไหว
3) การระเบิดของภูเขาไฟ
4) กระบวนการเกิดภูเขา
5) การกร่อน
6) กระแสน้ำ
8) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เป็นต้น
การเคลื่อนที่ของโลก เกิดจากการเคลื่อนที่ของหินหนืดโดยเฉพาะแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร มีความหนาแน่นน้อย หินหนืดสามารถแทรกตัวตามรอยต่อระหว่าง แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่าย
นักธรณีวิทยาพบว่าบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแอตแลนติกมีแนวหินใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แนวหินใหม่นี้เกิดจากการดันตัวของหินหนืดและมีอายุน้อยกว่าหินบนทวีป จึงมีผลทำให้ทวีปต่าง ๆ ห่างกันมากขึ้นและเกิดการชนกันระหว่างผิวเปลือกโลก การเกิดแผ่นดินไหว คือ คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากพลังงานที่มีจุดกำเนิดอยู่ภายใต้ผิวโลก คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกเรียกว่าแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่กระจายไปทุกทิศทุกทางจากจุดต้นกำเนิด ความกว้างของอาณาบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระดับพลังงานที่จุดต้นกำเนิด
การเคลื่อนที่ของโลก เกิดจากการเคลื่อนที่ของหินหนืดโดยเฉพาะแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร มีความหนาแน่นน้อย หินหนืดสามารถแทรกตัวตามรอยต่อระหว่าง แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่าย
นักธรณีวิทยาพบว่าบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแอตแลนติกมีแนวหินใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แนวหินใหม่นี้เกิดจากการดันตัวของหินหนืดและมีอายุน้อยกว่าหินบนทวีป จึงมีผลทำให้ทวีปต่าง ๆ ห่างกันมากขึ้นและเกิดการชนกันระหว่างผิวเปลือกโลก การเกิดแผ่นดินไหว คือ คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากพลังงานที่มีจุดกำเนิดอยู่ภายใต้ผิวโลก คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกเรียกว่าแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่กระจายไปทุกทิศทุกทางจากจุดต้นกำเนิด ความกว้างของอาณาบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระดับพลังงานที่จุดต้นกำเนิด
มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
พื้นผิวโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำมาหากินของมนุษย์มาตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ แล้วมนุษย์อาศัยปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์ได้มาจาก การเสาะแสวงหา ดัดแปลง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในบางครั้งจึงต้องเกี่ยวข้องกับการทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้
มนุษย์ต้องการดิน หินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้างและสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงต้องค้นหาและขุดดิน หินและแร่ธาตุดังกล่าว ซึ่งมีอยู่ในเปลือกโลกขึ้นมาใช้ประโยชน์ บางครั้ง การสร้างอาคาร ถนน เขื่อน และอุโมงค์ จำเป็นต้องปรับพื้นที่ อาจต้องมีการขุดเจาะลงในชั้นดิน หิน เพื่อวางระบบฐานรากของสิ่งก่อสร้าง ตลอดจนการระเบิดภูเขา เพื่อเอาหินมาสร้างถนน สร้างอุโมงค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)